เสขิยธรรม -
ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์

พระศรีปริยัติโมลี-สนธิ
ร่วมวิพากษ์เรื่อง “สื่อกับจริยธรรม”

โดย สนธิ ลิ้มทองกุล
ผู้จัดการออนไลน์ : ข้อเขียน-บทความ-บทวิเคราะห์
วันพุธที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖


      บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจัดสัมมนาเรื่อง “สื่อกับจริยธรรม” โดยมีวิทยากร“ท่านเจ้าคุณพระศรีปริยัติโมลี”และ “สนธิ ลิ้มทองกุล”ร่วมวิจารณ์สื่อในมุมมองที่น่าสนใจ และให้ความเห็นเกี่ยวกับสื่อในมุมมองที่แหลมคมอย่างยิ่ง

      วันนี้ (๒๓ ก.ค.)ที่ วัด มหาธาตุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดสัมมนาเรื่อง “สื่อกับจริยธรรม” โดยมีวิทยากร ๒ ท่าน คือ “ท่านเจ้าคุณพระศรีปริยัติโมลี” รองอธิการบดีฝ่ายกิจการ ต่างประเทศ มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้วิพากษ์วิจารณ์และให้ความเห็นเกี่ยวกับสื่อในมุมที่แหลมคมอย่างยิ่ง

      ท่านเจ้าคุณพระปริยัติโมลี ได้กล่าวว่า สื่อไม่ว่าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ มีอำนาจมาก และรวมถึง อินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งที่มีอำนาจมาก และเราต้องตามให้ทันด้วย และเราในฐานะที่เป็นพระนั้น มองสื่อเป็นยังไง สถานะเป็นยังไง มองในความเป็นจริง คงจะไม่เป็นอย่างอื่น ก็คือเรื่องสื่อเป็นเรื่องของ อายตนะ ๒ อย่าง มีทั้งภายในและภายนอก ภายในก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น ภายนอกก็คือ กาย ใจ ซึ่งท่านจะรับรู้จากภายนอก ควรเลือกดูอย่างมีประโยชน์ ดูอย่างใช้สติสัมปชัญญะในการดู

      และท่านเจ้าคุณฯยังได้กล่าวต่อไปว่า ถ้าหากสื่อมวลชน เข้าใจในหลักพุทธศาสนา สื่อมวลชนจะได้รับบุญทุกวันๆเพราะสื่อแต่สิ่งดีๆ ไม่โลภโมโทสันต์ แต่ลูกหลานในสื่อมวลชนไม่มีโอกาสรู้เลยว่าเขามีโอกาสทำบุญ แทนที่เขาจะทำบุญเขากำลังสะสมบาป และหลักพุทธศาสนาก็บอกว่า การสื่อสารต้องสื่อ แต่สิ่งที่เป็นความจริง และประโยชน์นั้นจะต้องเป็นประโยชน์ในวงกว้าง และที่สำคัญการนำเสนอนั้นจะต้องไม่บิดเบือน โดยจะต้องไม่ถูกความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้าครอบงำ เสนอข่าวเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่ม หรือเพื่อตนเอง

       และการที่เราซื้อหนังสือพิมพ์มันบอกถึงคุณภาพของผู้บริโภคด้วย คือถ้าหากชาวบ้านไม่ซื้อ หนังสือพิมพ์ ก็อยู่ไม่ได้ และแปลกอีกอย่างของสังคมไทยคือ ชอบเรื่องเสื่อมเสียชอบฟังเรื่องเสียๆหายๆ เรื่องลบๆ แต่ถ้าหากเขาทำดีไม่อยากดูหรอก ไม่อยากเห็น และสื่อคงจะเข้าใจตรงนี้ แม้แต่เรื่องของพระก็เลี้ยงสื่อได้

       และหนังสือพิมพ์บางฉบับ ร่ำรวยขึ้นมาเพราะเรื่องของพระขายดีมาก และเรื่องพระเรื่องอื่นเขาก็ไม่เสนอ เขาเสนอแต่เรื่องพระกับ สีกา เสนอแต่เรื่องเดียวนี่แหละและยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อาบัติของพระมี ๔ ข้อ และเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องยากเพราะว่า เป็นเรื่องของธุรกิจ เป็นเรื่องเงิน เรื่องทอง และคนก็ยังซื้อกันอยู่ และหนังสือพิมพ์สมัยนี้ เสรีมากขึ้น ไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่คอยตักเตือน และไม่ได้บอกไห้พระสงฆ์กลัวสื่อ ควรจะบอกเขาว่าความจริงมันเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ไม่ใช่เขามาหาก็ไล่เขากลับไป ปิดประตูไม่ให้เข้า เขาก็ไปนั่งเขียนเองไม่มีข้อมูลคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่ากลัวผู้สื่อข่าว เพราะเขาเป็นลูกเป็นหลาน และเราก็ช่วยให้เขามีงานทำด้วย

      นาย สนธิ ลิ้มทองกุล ได้กล่าวว่า สื่อมวลชนก็คือมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกิเลสทั้งหลาย ในสภาวะการของสื่อมวลชน นั้น เป็นสภาวะการทางธุรกิจ ซึ่งจะต้องอาศัยรายได้ที่เข้ามาให้องค์กร ไม่ว่า ค่าแรงงาน ค่ากระดาษ ค่าโรงพิมพ์ รายได้ที่ได้เข้ารายได้หลักคือ ส่วนใหญ่จะเป็นรายได้จากการโฆษณา และเมื่อสื่อต้องพึ่งพาการโฆษณาแล้ว เพราะฉะนั้นโฆษณาจึงมีอิทธิพลเหนือการนำเสนอได้

      และ นายสนธิ กล่าวต่อไปอีกว่า ปัญหาของสื่อในขณะนี้ทุกวันนี้ ก็คือ สื่อยังขาดการพิจารณาว่า สิ่งใดคือความรู้ สิ่งใดคือประโยชน์ สื่อส่วนใหญ่ทุกวันนี้ มักจะ หลงไปในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้พิจารณาว่าที่มาเป็นอย่างไร ก็คือ มาดูผลที่เกิดขึ้น แต่ว่าไม่ได้เล่าไปที่เหตุ และคนที่รับข้อมูลโดยไม่ได้รับข่าวสารตรงผล เมื่อไม่ทราบเหตุก็จะงมงายและโง่เขลาไปกับผลที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าผลอันนี้คือคำตอบที่แท้จริง และความรวดเร็วทำให้มีการแข่งขันกัน การทำธุรกรรมอันเดียว เมื่อ ๒๐ ปี ที่แล้วแต่พอเอาเทคโนโลยีสมัยนี้ทำ รวดเร็วกว่าเดิมทำได้ถึง ๒๔,๖๒๐ ครั้ง เลยทีเดียวเพราะฉะนั้นโดยความรวดเร็วตรงนี้ ถ้าสื่อสามารถไม่เข้าใจไม่เข้าใจป่าทั้งป่า สื่อก็จะเป็นเหยื่อของผล โดยที่สื่อไม่เข้าใจ เหตุที่เกิดขึ้นมันก็เลยพลอยทำให้สังคมต้องโง่เง่าตามที่สื่อรายงาน ประกอบกับโครงสร้างสังคมซึ่งเต็มไปด้วยผลประโยชน์หรือ ในทางพุทธศาสนาก็คือ กิเลส มากนั้นก็ทำให้สื่อนั้นไม่เคยมีจริยธรรม และถ้าตีตามหลักพุทธศาสนาจริงๆแล้วเป็นสิ่งไม่ดี

       และยังกล่าวต่อไปอีกว่ากระบวนการพัฒนาข่าวสารข้อมูลไม่ว่าสังคมไทย สังคมโลกจริงๆแล้วก็คือ เริ่มแรกเราต้องพัฒนาข้อมูลก่อน และกลายเป็นข่าวสาร และต่อมาความรู้ และสุดท้ายคือ ปัญญาอันนี้เป็นพื้นฐานการทำสื่อ ขององค์กรต่างๆแต่ติดปัญหาที่ผลประโยชน์ และถ้าเราทำสื่อแล้ว เมื่อเรามีปัญญาแล้วบางครั้ง การทำงานของเราบางครั้ง ก็ขัดกับผลประโยชน์หรือหลักที่เราทำ ถ้าขัดกับผลประโยชน์ต่อระบบแล้ว เจ้าขององค์กรเจ้าของสื่อซึ่งได้รับอิทธิพลทางผลประโยชน์ตอบแทนในเรื่องเงินทอง บางครั้งข่าวชิ้นนี้ก็อาจไม่ไห้ลง เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ออกว่า สื่อคนหนึ่งที่พัฒนามาถึงขั้นมีปัญญาได้ กับกรอบของสื่อตรงนั้นขององค์กร ที่ครอบเข้าเอาไว้ไม่ให้เขาแสดงปัญญาได้เต็มที่มันคนละเรื่องกัน

      นาย สนธิยังกล่าวต่อไปว่า ในยุคข้อมูลข่าวสารเราจะเห็นว่าคำว่า IT หรือเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพราะอย่างน้อยพระก็เข้าหาข้อมูลทาง อินเตอร์เน็ต จะเห็นว่า IT ยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางระบบด้วย ระบบเศรษฐกิจสำคัญมาก ระบบเศรษฐกิจคือเมื่อเทคโนโลยี ได้ทำให้ ธุรกรรมของมนุษย์เร็วขึ้น ก็เลยเป็นว่าอะไรก็เป็นเงินทองไปหมด จริยธรรมไม่เกี่ยว และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสื่อมวลชน และยังได้กล่าวว่าความรวดเร็วทางเทคโนโลยี นี่สามารถทำอะไรได้รวดเร็วไปหมด และเกิดการแข่งขันกัน และเทคโนโลยี ยิ่งพัฒนาเท่าไรเรายิ่งกลายเป็นเหยื่อ ของข้อมูลข่าวสารแล้ว คนที่ใช้ข้อมูลสารเป็นการบิดเบือนหรือการครอบงำ ก็สามารถสร้างกระแสให้สังคมทั้งสังคมเป็นไปตามข้อมูลข่าวสารที่เขากำหนด เหตุผลเพราะเราไม่มีปัญญาสร้างความรู้และปัญญาขึ้นมารองรับ และเข้าใจอย่างที่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พึงสังวรณ์อินทรีย์ ให้เลือกดูสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์

      และยังกล่าวต่อไปอีกว่าเมื่อปี ๒๕๒๖-๒๕๔๖ ๒๐ ปีของการเปลี่ยนแปลง กระบวนการกระจายข้อมูลไปสู่ข่าวสาร และไปสู่ความรู้โดยผ่าน IT คือ เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เพราะฉะนั้นแล้วการถั่งโถมข้อมูลข่าวสาร อุปมาอุปมัยเหมือนทำนบเขื่อนกั้นน้ำ ถูกเปิดขึ้นมาน้ำมันทะลักเข้ามาจนเรารับแทบไม่ทัน และถ้าเราจะรับให้ทันเราต้องสร้าง ฐานองค์ความรู้ขึ้นมา เพราะถ้าฐานองค์ความรู้ไม่มี ปัญหาจะเกิดขึ้นมากมาย ในส่วนของสังคมไทยกับฐานองค์ความรู้ เราต้องเข้าใจพื้นฐาน ธรรมชาติของสังคมไทย เป็นสังคมศักดินา เป็นสังคมปกป้องตนเองสังคมปิดข่าว ข่าวลือ และพอมาถึงสังคมยุค อมาตยาธิปไตยเป็นสังคมเป็นทางการ และข้อมูลหาได้ยากมากเพราะในสังคมส่วนมากจะเป็นข่าวลือ เป็นทางการบิดเบือนเพราะฉะนั้นสังคมจึงต้องพึ่งจากภายนอก ถ้าอยู่ในประเทศก็ต้องพึ่ง ข่าวลือ ถ้าคนซึ่งมีปัญญาก็ต้องพึ่งข้อมูลจากต่างประเทศ แต่พอมองย้อนกลับ แต่ถ้ามูลจากต่างประเทศบิดเบือนแสดงว่าข้อมูลภายในประเทศก็ต้องบิดเบือนด้วย พิสูจน์ได้จากสงคราม อิรัก คราวที่แล้ว สื่อมวลชนจากต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่เราครั้งหนึ่งถูกเทิดทูนบูชาครั้งหนึ่งว่าเป็นสื่อมวลชนตัวอย่าง แต่ปรากฏว่าเป็นสื่อมวลชนที่บิดเบือนเพื่อประเทศของเขา ได้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงเพื่อครอบงำประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติและทางเศรษฐกิจ

      "ในทุกสังคมมีทั้งคนดีและไม่ดี ระบบทุนนิยม ปราศจากซึ่งคุณธรรม สร้างจริยธรรมหลอกลวงขึ้นมาการสร้างภาพ ด้วยเหตุผลอันนี้ สื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างสูง คือประชาชนทั่วไป ๙๙.๙๙% ไม่รู้จักเลือกบริโภคสื่ออิทธิพลการโฆษณาชวนเชื่อ และสิ่งที่น่าสนใจคือเจ้าของสื่อ เป็นผู้กำหนดทิศทางการทำสื่อไปในทิศทางต่างๆ"นาย สนธิกล่าว.. .

หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม | ความเคลื่อนไหว | ประเด็นร้อน | > ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :