เสขิยธรรม -
ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์

ธรรมะสยบนักเรียนนักเลง

เด็กอาชีวะยกพวกตีกัน

"ทีมข่าวศาสนา" นสพ.ไทยรัฐ

          เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และยิ่งนับวันดูจะยิ่งถี่และ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

          ที่เลวร้ายที่สุดคือ “เหยื่อ” รับเคราะห์ ถูกลูกหลง บาดเจ็บและมีถึงขั้นเสียชีวิต คือชาวบ้านที่ไม่ได้ รู้อีโหน่อีเหน่กับ ความบ้าเลือด ของนักเรียนนักเลง เหล่านี้แต่อย่างใด

          ถึงวันนี้ หลายหน่วยงานเริ่มตระหนักถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้น และประกาศจะเข้ามาสะสางปัญ หาอย่างจริงจัง ถึงขั้นมีการขึ้นบัญชีดำทั้งนักเรียน และโรงเรียนที่ชอบก่อเหตุ รวมถึงการล้อม คอกในส่วนต่างๆ

          ขณะเดียวกันอีกหน่วยงานหนึ่งที่ “อาสา” เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา คือ “พระสงฆ์” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้นำทางจิตใจของสังคม

พระครูวิสุทธินพคุณ ผช.เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ          “ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรม เพื่อพัฒนาสังคม” หรือเรียกย่อๆ ว่า “ศูนย์สงฆ์เพื่อ สังคม” ซึ่งมี “พระพรหมวชิรญาณ” เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม เป็น ผอ.ศูนย์ฯ และมี “พระครูวิสุทธินพคุณ” ผช. เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ เป็นประธานศูนย์ฯ ได้เล็งเห็นปัญหาของ กลุ่มนักเรียนอาชีวะ

          ทั้งวัตถุประสงค์ของศูนย์สงฆ์เพื่อสังคมนี้ ก็จัดตั้งขึ้นเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มุ่งเน้นให้ นักเรียนนักศึกษามีความรู้ เข้าใจในหลักพุทธธรรม รวมทั้งปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม และค่านิ ยมที่พึงประสงค์ แก่นักเรียนนักศึกษาให้รู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง และบำเพ็ญประโยชน์ ไม่เป็น ภาระต่อสังคม

          จึงได้รวบรวมพระสงฆ์ทั้งมหานิกายและธรรมยุต ที่ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และในสำนักศึกษาพระปริยัติธรรม ในกรุง เทพฯและต่างจังหวัดตลอดทั้งที่สำเร็จการศึกษา ประมาณ ๔๕๐ กว่ารูป เข้ามาทำ งานเผยแผ่พุทธธรรม เน้นในกลุ่มนักเรียนอาชีวะเป็นหลัก

          “พระครูวิสุทธินพคุณ” ประธานศูนย์สงฆ์เพื่อสังคมระบุว่า

          “ที่ต้องเน้นไปที่โรงเรียนอาชีวศึกษา เพราะเด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยง ไม่ค่อยได้รับความสนใจจาก สังคม ที่มองว่าชอบก่อเหตุรุนแรง ยกพวกตีกัน ทะเลาะวิวาท ทำให้คนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ได้รับ บาดเจ็บ และเดือดร้อน โดยไม่มองไปที่พื้นฐานของพวกเขาว่า ที่ต้องแสดงออกแบบนี้เพราะ ปัญหาครอบครัวไม่เข้มแข็ง พ่อแม่อยู่กันคนละทาง บางคนอยู่กับย่าหรือยาย มีปัญหาแทบทั้งสิ้น ถ้าปล่อยปละละเลยเด็กพวกนี้ก็จะเติบโตขึ้นเป็นภาระของสังคม ดังนั้นพระสงฆ์ต้องเข้าไปช่วย อบรมธรรมะพัฒนาด้านจิตใจ ขณะเดียวกันก็กระตุ้นเตือนให้สังคมรับทราบสาเหตุของปัญหา และช่วยกันแก้ไข ปรับปรุง เพื่อจะช่วยลดปัญหาสังคมให้น้อยลง”

          “เด็กอาชีวะน่าสงสาร ที่พวกเขาแสดง ออกรุนแรง ส่วนหนึ่งเพราะ ต้องการ เรียก ร้องให้สังคมหันมามองปัญหา ของพวกเขาบ้าง แม้สิ่งที่แสดงออก หลายครั้งอาจ จะไม่สมควร แต่สังคม ควรต้องมองด้วย ความเข้าใจว่า ไม่มีใครอยากเกิดมาเป็น คน ไม่ดี” ประธานศูนย์ฯกล่าวย้ำ

          ปี ๒๕๔๕ ซึ่งมีการก่อตั้งศูนย์พระสงฆ์ เพื่อสังคม ศูนย์ฯได้เข้าไปอบรมศีลธรรม จริยธรรมและ สอนธรรมศึกษา ในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ๔ แห่ง คือ โรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน-ธนบุรี เทคโนโลยีสยาม กุลศิริ�เทคโนโลยี และวิบูลย์บริหารธุรกิจ โดยใน ๑ สัปดาห์ จะเข้าไป อบรมให้ฝึกสติ และสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา และสอนธรรมศึกษา ที่มีเนื้อหาเริ่มจากง่ายๆ ตั้งแต่ วิชาพุทธประวัติ-ศาสนพิธี วิชาเบญจศีลเบญจธรรม ไปจนถึงวิชายากๆ อย่างธรรมวิจารณ์ ๑ ครั้ง ครั้งละ ๒ ชั่วโมง รวมทั้งส่งนักเรียนอาชีวะเข้าสอบธรรมศึกษา ทั้งชั้นตรี โท และเอก

          ผลปรากฏเป็นที่น่าพอใจ พฤติกรรมของนักเรียนอาชีวะเปลี่ยนไป ความก้าวร้าวรุนแรงลดลง และหันมาสนใจความรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้นแล้ว ทั้งผลการสอบธรรมศึกษา ก็เป็นที่น่าพอใจ

          ต่อมาในปี ๒๕๔ มีการขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนอาชีวะอื่นๆ อีก ๑๔ โรง คือ โรงเรียนพณิชยการสุโขทัย เทคนิควิมลบริหารธุรกิจ เทคนิคพณิชยการเจ้าพระ ยา มิตรพลพณิชยการ ชิโรรสวิทยาลัย พระรามหกเทคโนโลยี เทคโนโลยีหมู่บ้าน ครู หมู่บ้านครูบริหารธุรกิจ ภาษานุสรณ์ พณิชยการภาษานุสรณ์ ไชยฉิมพลีวิทยา คม ภาษานุสรณ์ธนบุรี ประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รวมกับของเดิมเป็น ๑๘ โรง

พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา          “พระพรหมวชิรญาณ” ผอ.ศูนย์พระสงฆ์ เพื่อสังคมระบุว่า “การดำเนินการที่ผ่านปีกว่า ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในแง่ที่ พระสงฆ์สามารถเข้า ไปเผยแผ่หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาในสถาบันอาชีวศึกษาได้ รวมทั้งทำให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปในทิศ ทางที่ดีขึ้น มีนักเรียนสนใจ เข้ามาฝึกการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิ หรือวิปัสสนา ทำวัตรสวดมนต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะซึมซับ ทำให้นักเรียนสามารถนำพุทธธรรมไป ประยุกต์ใช้ นชีวิตได้ถูกต้อง ที่หวังมากยิ่งไปกว่านั้นคือ ให้เกิดความรักและหวงแหนพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของประเทศ

          พระสงฆ์คงจะอยู่เฉยๆไม่ได้ ในขณะที่ปัญหาสังคมมีมากมาย ต้องออกไปช่วย เหลือ สงเคราะห์ ยิ่งปัญหาของนักเรียนอาชีวะ จริงอยู่แม้จะแก้ไม่ได้ทั้งหมดด้วย หลักธรรม เด็กนักเรียนก็ยังตีกันอยู่ แต่ถ้าไม่ได้ทำอะไรลงไปเลย หรือยืนมองดู ความพินาศย่อยยับของเด็ก ที่เชื่อมโยงไปถึงความล้มเหลวของสถาบันครอบ ครัว สถาบันการศึกษา พระสงฆ์เราจะต้องไม่เพียงแต่ต้องไม่เป็นภาระกับสังคม เท่านั้น ต้องกระโจนออกไปช่วยเหลือเด็ก ช่วยเหลือสังคม ในต่างประเทศ บทบาทของนักบวช หรือองค์กรศาสนามีมาก เพราะเขาถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรับ ผิดชอบต่อสังคม” ผอ.ศูนย์พระสงฆ์เพื่อสังคมกล่าวในที่สุด

          ในปี ๒๕๔๗ ศูนย์สงฆ์เพื่อสังคม มีโครงการขยายเครือข่ายการเผยแผ่หลักธรรมในสถาบัน อาชีวศึกษาเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากมีหลายสถาบันให้ความสนใจติดต่อเข้ามาจำนวนมาก เชื่อว่า ธรรมะจะช่วยขจัดปัญหาได้

          ทีมข่าวศาสนา หวังว่า หลักธรรมที่ทางศูนย์ฯปลูกฝังให้กับเด็กอาชีวศึกษา จะซึมซับเข้าไป ในจิตใจและสลายความก้าวร้าวของนักเรียนบางคน ที่ชอบใช้ความรุนแรง

          แต่เราขอฝากว่า กลุ่มสำคัญที่ทางศูนย์ฯจะต้องเร่งเข้าไปขัดเกลาจิตใจเพื่อสยบ ปัญหานี้คือ “พวกหัวโจก”

          เมื่อใดที่แก้ค่านิยมของกลุ่ม “หัวโจก” ที่หลงผิดคิดว่า ความรุนแรงและการทำร้ายคนอื่นเป็น ความโก้เก๋ และเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ได้แล้ว 

          เมื่อนั้น “ธรรมะจะสยบนักเรียนนักเลง” อยู่หมัด!!!.. .

หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม | ความเคลื่อนไหว | ประเด็นร้อน | > ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :