เสขิยธรรม -
ประเด็นร้อน
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์

นอม ชอมสกี้ สงครามแห่งความเหลวไหล

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
จุดประกาย เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ ๑๒ เม.ย. ๔๖

 

          เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ได้เปิดหนทางใหม่ๆ ที่จะน้อมนำไปสู่เป้าหมายต่างๆ เหล่านี้ภายใต้ข้ออ้างเกี่ยวกับการทำสงครามกับการก่อการร้าย ซึ่งเป็นข้ออ้างที่บอบบางหรือจืดชืดมาก แต่ก็มากพอสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อถึงวัตถุประสงค์ข้างต้น สงครามที่มีการวางแผนสามารถรับใช้ความต้องการต่างๆ ภายในประเทศได้ทันทีด้วย

          ไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากมายนักที่จะปลุกเร้าภาพลักษณ์ของซัดดัม ฮุสเซ็น ให้กลายเป็นปิศาจผู้ทรงอำนาจ ทำลายโลกหรืออาจทำลายล้างจักรวาล และด้วยการกอดรัดกันของประชาชนที่ตกอยู่ในความหวาดผวานี้ จึงเป็นโอกาสให้พลังความกล้าที่สง่างามดุจอัศวินของเรา เอาชนะศัตรูตัวร้ายที่น่าเกรงขามอย่างอัศจรรย์ ซึ่งบางทีประชาชนทั้งหลายไม่ต้องไปสนอกสนใจสิ่งที่กำลังกระทำกับศัตรูตัวร้ายเหล่านั้นด้วย และอาจร่วมร้องประสานเสียงไปพร้อมกับบทเพลงสรรเสริญ ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาอันแจ่มจรัสต่อบรรดาผู้นำของพวกเรา

          นอม ชอมสกี้ (Noam Chomsky) เป็นปัญญาชนอเมริกันที่ถูกกล่าวขวัญในฐานะนักคิดที่แหลมคม และทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้

          บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้สัมภาษณ์โดยไมเคิล อัลเบิร์ต เคยตีพิมพ์ครั้งแรกใน Z Magazine ก่อนที่สมเกียรติ ตั้งนโม จะนำมาแปลและเผยแพร่ผ่านเวบไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

          จุดประกาย-เสาร์สวัสดี มองเห็นว่าเนื้อหาการวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์สงครามของนอม ชอมสกี้ ครั้งนี้ นอกจากจะทำให้เรามองเห็นแง่มุมสงครามหลากมุมขึ้นแล้ว ยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เรามีโอกาสทำความรู้จักนักคิดที่ถูกกล่าวขวัญที่สุดในทศวรรษนี้

๏ ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น เป็นปิศาจร้ายอย่างที่สื่อกระแสหลักพูดถึง ทั้งต่อภายในประเทศและต่างประเทศจริงใช่ไหม

          อาชญากรรมอันเลวร้ายสุดๆ ของซัดดัมมีอยู่มากมาย มันเกิดขึ้นภายในประเทศของเขาเอง รวมถึงการใช้อาวุธเคมีสังหารชาวเคิร์ดล้มตายจำนวนมากในช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๘๐ เป็นอาชญากรรมที่ป่าเถื่อนกว่าอื่นใดทั้งหมดเท่าที่โลกสามารถจินตนาการได้

          นอกจากนี้ซัดดัมยังเคยรุกรานอิหร่าน แต่ก็อย่าลืมว่านั่นเกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของตะวันตก มีการใช้อาวุธเคมีเข้าประหัตประหารกัน ซึ่งอันนี้เป็นการสนับสนุนของตะวันตกอีกเช่นกัน

ใช่เลย ! นี่คือสุดยอดของรายชื่ออาชญากรรมที่รุนแรง น่ากลัว และน่าสยดสยองยิ่ง แต่โลกตะวันตกก็ไม่ได้ทำท่าสนใจอาชญากรรมเหล่านี้มากนัก ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน และจอร์จ บุช ผู้พ่อ ยังคงเชื้อเชิญและต้อนรับสัตว์ประหลาดตนนี้ ในฐานะหุ้นส่วนพันธมิตรทางการค้าและพันธมิตรอันทรงคุณค่า

          บุชผู้พ่อยินยอมให้มีการกู้ยืมโดยใช้หลักประกันต่างๆ และขายเทคโนโลยีอันล้ำสมัยด้วยการร้องขอที่ชัดเจนเกี่ยวกับอาวุธทำลายล้างมวลชน (Weapons of Mass Destruction-WMD) ซึ่งได้ตั้งตระหง่านกระทั่งถึงวันที่คูเวตถูกรุกราน และหลายครั้งรัฐสภาก็พยายามเป็นทนายปกป้องสิ่งที่ซัดดัมกำลังทำอยู่ อังกฤษเองยังอนุญาตให้มีการส่งออกเครื่องมือและยุทธปัจจัยทางด้านการทหาร และวัตถุกัมมันตรังสีไม่กี่วันหลังจากการรุกรานคูเวต

          ๒-๓ เดือนก่อนที่ซัดดัมบุกเข้าคูเวต คณะตัวแทนของวุฒิสภาระดับสูง ซึ่งนำโดยบ๊อบ โดล ได้ไปเยี่ยมเยือนซัดดัม พร้อมทั้งนำคำทักทายของประธานาธิบดี คำรับรองที่ยืนยันและให้กำลังใจเกี่ยวกับการฆาตกรรมมวลชนอย่างโหดเหี้ยมว่าเขาควรที่จะมองข้าม หรืออย่าได้ให้ความเอาใจใส่ต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่เขาได้ยินมาจากบรรดาผู้สื่อข่าวอิสระต่างๆ

แน่นอน เขาเป็นอาชญากรคนสำคัญอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็อย่าลืมว่าครั้งหนึ่งสหรัฐและอังกฤษก็เคยมองว่าความโหดร้ายต่างๆ จากฝีมือซัดดัม เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สลักสำคัญ

๏ มองไปในอนาคต ซัดดัม ฮุสเซ็น จะเป็นอันตรายอย่างที่สื่อกระแสหลักพูดไว้ใช่ไหม

          โลกจะดีขึ้นกว่านี้ถ้าเผื่อว่าไม่มีซัดดัม...อันนี้ไม่ต้องสงสัย แต่เขาจะไม่สามารถเป็นอย่างนี้ได้เลย หากสหรัฐและอังกฤษไม่ได้ให้การสนับสนุนจัดหาเทคโนโลยีให้กับเขาใน ๒ ลักษณะ ซึ่งสามารถที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธเคมี

          สงครามในปี ๑๙๙๑ เป็นการทำลายล้างที่รุนแรง และนับจากนั้นเป็นต้นมา อิรักได้ถูกล้างผลาญจนย่อยยับโดยการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ แต่นั่นยิ่งทำให้ตัวซัดดัมเข้มแข็งมากขึ้น เพราะกลุ่มต่อต้านซัดดัมก็อ่อนแอลงท่ามกลางสังคมที่เสื่อมทรามแตกสลาย

          แม้ว่าจะมีการพยายามอย่างมากที่จะเชื่อมโยงซัดดัมเข้ากับเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันใดๆ ซึ่งอันนี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจเท่าไหร่ เพราะซัดดัม กับ บิน ลาเดน เป็นศัตรูที่อาฆาตแค้นกันมาก่อน และไม่เคยมีแนวโน้มใดๆ ว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

๏ โลกควรจะวางท่าทีอย่างไรกับปัญหาการมีอยู่และการใช้อาวุธทำลายล้างมวลชน

          พวกมันควรจะต้องถูกทำลายหรือกำจัดให้หมดสิ้น สนธิสัญญาการไม่แพร่กระจายอาวุธ (Non-Proliferation Treaty) ได้ผูกมัดให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันกำจัดอาวุธเหล่านี้ทิ้ง ทั้งอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ ทั้งหมดนี้ถือเป็นข้อเสนอที่ดี

          อินเดียและปากีสถานต่างเป็นพันธมิตรของสหรัฐ แต่ก็กำลังเดินหน้าด้วยการพัฒนาเกี่ยวกับอาวุธทำลายล้างผู้คน (WMD) และมีแนวโน้มที่อาจใช้อาวุธร้ายแรงเหล่านี้เข้าห้ำหั่นกัน เรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นกับพันธมิตรและลูกค้ารายอื่นๆ ของสหรัฐด้วย เหตุการณ์เช่นนั้นจะยังคงดำเนินต่อไป เว้นแต่ว่าจะมีการลดทอนเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ลงในพื้นเหล่านี้

          ประธานาธิบดีซัดดัมจะยอมรับเรื่องนี้ไหม...จริงๆ แล้ว เราไม่รู้เลย ในช่วงต้นเดือนมกราคม ๑๙๙๑ อิรักเสนอที่จะถอนตัวออกจากคูเวตในบริบทของการเจรจาต่างๆ ระดับภูมิภาคบนข้อตกลงเกี่ยวกับการลดทอนกองกำลังติดอาวุธ มันเป็นข้อเสนอที่บรรดาเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐได้อธิบายอย่างจริงจังและมีการเจรจาตกลงกัน

๏ ข้ออ้างเหตุผลบางอย่างที่ว่า มันมีหลักฐานเพียงพอสำหรับการปฏิบัติการกับอิรัก เนื่องจากอิรักมีศักยภาพด้านอาวุธซึ่งต่างไปจากประเทศอื่นๆ เพราะภายใต้เทอมต่างๆ ของการแก้ปัญหาของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมติที่ ๖๘๗ ซึ่งยอมรับโดยซัดดัม ฮุสเซ็น นั่นคืออิรักจะต้องปลดอาวุธ ในฐานะที่เป็นการลงโทษ สำหรับการกระทำอันรุนแรงที่เด่นชัด ต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ในการรุกรานเข้าไปในคูเวต ?

          แล้วชุมชนระหว่างประเทศได้แสดงความบริสุทธิ์ ในการพยายามที่จะจำกัดอาวุธทำลายล้างมวลชนของอิรักหรือไม่... อันนี้คือคำถามสำคัญ

          การรุกรานคูเวตเป็นหนึ่งในอาชญากรรมต่างๆ ซึ่งอันที่จริงเล็กน้อยมากสำหรับซัดดัม มันไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากหนึ่งในหมายเหตุข้างท้าย ที่เป็นอาชญากรรมหลายหลากของสหรัฐ ภายในขอบเขตขนบประเพณีของตัวเอง นั่นคือ การรุกรานเข้าไปในปานามา ไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งไม่มีข้ออ้างหรือคำแก้ตัวที่ฟังขึ้นหรือเชื่อถือได้ใดๆ เลยสำหรับการกระทำอันนี้

          ข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือว่า สหรัฐสามารถที่จะวีโต้การตัดสินใจต่างๆ ของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการประณามการรุกรานครั้งนี้ได้ โดยไม่นำพาต่อการตำหนิประณามอันเกรี้ยวกราดและรุนแรงจากฝ่ายประชาธิปไตยทั้งหลาย

          การรุกรานคูเวตถือว่าเป็นอาชญากรรม ไม่อาจที่จะเปรียบเทียบกันได้กับการที่สหรัฐให้การหนุนหลังอิสราเอลรุกรานเลบานอน ซึ่งได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง ๒ หมื่นคน และอย่างที่รู้สึกลำบากใจ มันง่ายที่จะคิดต่อเนื่องเชื่อมโยงกับกรณีที่เลวร้ายอื่นๆ ดังที่เราทั้งหลายต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้ว

          กล่าวในด้านชุมชนระหว่างประเทศในทางปฏิบัติที่เป็นจริง มันหมายความว่าสหรัฐจะเข้ามาร่วมมือ ยิ่งไปกว่านั้น มันทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ที่จะทำให้การเจรจาตกลงยับยั้งการแพร่ขยายอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพบรรลุผลขึ้นมาได้ และจะไปสอดคล้องกันกับข้อกำหนดของมติที่ ๖๘๗ และเพื่อเป็นการปฏิบัติด้วยความเอาจริงเอาจังยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการปลดอาวุธโดยรวมทั้งหมด

          แต่ขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าวนั้นต้องเป็นไปโดยการยินยอมของสหรัฐ ซึ่งอันนี้เป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังอยู่อีกไกลและไม่แน่นอน เว้นแต่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ณ ที่นี้

๏ ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการตรวจสอบอาวุธก่อนหน้านี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นหรือว่า บรรดาผู้ตรวจสอบทั้งหลายสามารถถูกหลอกลวง ถ่วงเวลา และอีกอย่างคือ การถูกขัดขวางจากการบรรลุถึงผลสำเร็จในภารกิจของพวกเขาที่แท้จริง... มันมีวิธีการตรวจสอบที่สามารถใช้งานได้จริงกว่านั้นไหม

          แน่นอน พวกเขาสามารถที่จะถูกหลอกได้ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบต่างๆ ทางด้านอาวุธเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพกว้างขวาง มากกว่าการทิ้งระเบิดเพื่อทำลายล้างสมรรถนะของกองกำลังของอิรัก และปรากฏว่ามันประสบผลสำเร็จมากทีเดียว

          ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่ง, เมื่อได้มาถึงห้วงเวลาสุดท้าย การตรวจสอบอาวุธนานาชาติมันเป็นสิ่งที่มีความหมาย โดยเฉพาะการตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์และความสามารถต่างๆ ทางด้านอาวุธเคมีของประเทศอิสราเอล หรือกระทั่งอาวุธเหล่านั้นของสหรัฐอเมริกาเองด้วย กฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบควรจะได้รับการสถาปนาหรือสร้างขึ้นมา แต่ก็อีกนั่นแหละ...มันต้องได้รับการยินยอมในทางปฏิบัติจากสหรัฐ

๏ พูดกันว่าซัดดัม อาจจะบ้าถึงขนาดที่จะยิงนิวเคลียร์ไปยังสหรัฐหรืออิสราเอล ?

          ความเป็นไปได้ที่แปลกๆ หรือพิกลพิการทั้งหมดสามารถจินตนาการได้ นั่นทำให้ผู้คนจำนวนมากใช้สอยผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายในการใช้ความคิดและขอคำปรึกษามาโดยตลอด นับตั้งแต่ระเบิดทำลายล้างกลายเป็นสิ่งที่ใช้การได้ อันนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใดนัก เหตุผลหนึ่งก็คือสถานการณ์ดังกล่าว เกือบจะไม่มีทางเกิดขึ้นมาได้เลย

พัฒนาการของเหตุการณ์ที่สมมุติกันขึ้นซึ่งบอกว่า ซัดดัมได้จัดเตรียมหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่ว่า เขามีระเบิดทำลายล้างที่ใช้การได้ และมีความสามารถที่จะใช้มัน แต่อย่างไรก็ตาม อาวุธต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้เป็นการคุกคาม หรือเป็นอุปสรรคกีดขวางอะไรเลย แต่ถ้าเผื่อว่ามันมีการบ่งชี้ใดๆ ว่า เขามีสมรรถภาพในด้านอาวุธทำลายล้างอย่างมีนัยสำคัญ เขาก็จะถูกกำจัดทิ้งไปก่อนที่เขาจะสามารถคุกคามใครต่อใครได้โดยการรุกราน

          แต่อย่างไรก็ตาม โดยอนุมานมันเป็นเพียงการเล่นเกม พวกเรามักยอมรับสมมุติฐานอันไร้สาระที่ว่า สหรัฐและอิสราเอลจะนั่งลงอย่างเงียบๆ หรือนิ่งเฉย ขณะที่ซัดดัมกวัดแกว่งอาวุธทำลายล้างไปทั่ว ในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งสามารถโจมตีศัตรูได้อย่างรุนแรง และรุกรานประเทศอื่นๆ ความจริงแล้ว หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น สหรัฐและอิสราเอลจะขานรับหรือโต้ตอบทันทีต่อการรุกราน เพื่อขับไล่เขาออกไป (และเป็นไปได้ที่จะทำลายอิรัก) อาวุธทำลายล้างของเขาจะไม่อาจใช้ทำร้ายศัตรูได้เลย ไม่มีเหตุผลเพียงพอใดๆ ที่จะยอมให้การรุกรานของเขาประสบความสำเร็จ และจะปล่อยให้เขาธำรงฐานะของการคุกคามมากยิ่งๆ ขึ้นไป

          แต่อย่างไรก็ตาม คนส่วนมากเชื่อกันว่า เขาจะไม่ใช้สมรรถนะของอาวุธทำลายล้างใดๆ ที่เขามี เพราะนั่นจะหมายความว่าเป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรมโดยทันทีเช่นกัน และถ้าเผื่อว่าเขาตั้งใจที่จะฆ่าตัวตาย เขาน่าจะใช้อาวุธทำลายล้างของเขากับอิสราเอล (หรือใครก็ตาม) ก่อนการรุกรานประเทศหนึ่งประเทศใด

          ฉากอนาคตที่ตามมาซึ่งมีความเป็นไปได้แม้จะไม่มากนักก็คือ มันแทบจะไม่มีค่าต่อการพิจารณาเลยในการเปรียบเทียบกับปัญหาต่างๆ ที่แท้จริง ซึ่งไม่ต้องได้รับการปลุกเร้าหรือกระตุ้นขึ้นมาโดยจินตนาการที่น่าตื่นเต้นใดๆ ถ้าใครคนหนึ่งต้องการที่จะเล่นเกมนั้น ทำไมจึงไม่สร้างฉากอนาคตที่เป็นไปได้บางอย่างมากกว่า เช่น สมมุติว่าสหรัฐได้เปลี่ยนแปลงนโยบายและเข้าร่วมมือกับฉันทามติระหว่างประเทศเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของ ๒ ประเทศ อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าสหรัฐได้ให้การรับรองแผนการของซาอุดีอาระเบียเมื่อเร็วๆ นี้ที่รับมาใช้โดยสันนิบาตอาหรับ

          และสมมุติว่า อิสราเอลแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบโดยการย้ำเตือนสหรัฐว่า จะไม่คุกคามโดยการทิ้งระเบิดถล่ม แต่จะกระทำในหนทางอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ส่งฝูงบินทิ้งระเบิดขึ้นไปขู่เหนือน่านฟ้าพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำมันต่างๆ ของซาอุดีอาระเบีย (บางทีอาจจะเป็นอาวุธนิวเคลียร์ แต่นั่นยังไม่จำเป็น), ซึ่งนั่นเป็นการบ่งชี้ว่า อะไรที่อิสราเอลสามารถทำได้กับโลกใบนี้ ถ้าหากว่าสหรัฐไม่ลงเรือลำเดียวกันอีก

          มันอาจจะสายเกินไปต่อปฏิกิริยาข้างต้น เพราะอิสราเอลจะดำเนินการโดยการย้ำเตือนจนถึงที่สุด ฉากอนาคตอันนั้นมีความเป็นไปได้มากอันหนึ่ง เพราะปรากฏว่ามันได้เกิดขึ้นจริงเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว เมื่อครั้งที่รัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้มีการเสนอแผนการทำนองนี้ ซึ่งได้ถูกคัดค้านหรือต่อต้านอย่างรุนแรงจากฝ่ายอิสราเอล

          ตามรายงานของหนังสือพิมพ์อิสราเอล อิสราเอลได้แสดงปฏิกิริยาโดยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดขึ้นไปเหนือพื้นที่แหล่งน้ำมัน ในฐานะที่เป็นการแจ้งเหตุต่อสหรัฐ แต่การกระทำเช่นนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆ เพราะคณะผู้บริหารของเรแกนได้ร่วมมือกับอิสราเอลในการปฏิเสธข้อเสนอข้างต้น ในความเป็นไปได้เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานทางการเมือง ดังที่ได้กระทำไปแล้วอย่างสม่ำเสมอ

          จริงทีเดียว อิสราเอลอาจกำลังเผชิญหน้ากับการทำลายล้าง แต่ใครบางคนอาจถกว่า ยุทธวิธีของอิสราเอลยินยอมต่อความเป็นไปได้อันนั้น ดังเช่นหากย้อนกลับไปในปีทศวรรษที่ ๑๙๕๐ บรรดาผู้นำซึ่งมีอำนาจอยู่พรรคแรงงานหลายคนในช่วงเวลาดังกล่าวแนะนำว่า อิสราเอลคงจะฟั่นเฟือนหรือเลอะเลือน หากว่าสหรัฐจะไม่ร่วมหัวจมท้ายกับความต้องการของอิสราเอล และ the Samson complex ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งของแผนการ - มันจริงจังมากน้อยแค่ไหน อันนี้พวกเราไม่ทราบ - ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

          ถามว่า ผมเชื่อในสิ่งเหล่านี้ไหม แน่นอน คำตอบคือไม่ ...มันเป็นเรื่องที่เหลวไหล แต่อย่างไรก็ตาม ไม่อาจที่จะเปรียบเทียบกันได้กับความเลวร้ายของฉากอนาคตที่จะตามมาเกี่ยวกับอิรัก อันนี้ควรจะได้รับการเพิ่มเติมเข้าไปด้วยที่ว่า สถานการณ์ต่างๆ ภายใต้สิ่งซึ่งประธานาธิบดีซัดดัมต้องเผชิญ อาจทำให้เขาตัดสินใจใช้ระเบิดทำลายล้าง สมมุติว่าเขามีความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้

          ถ้าหากว่าอิรักถูกรุกรานโดยเจตนาที่กระจ่างชัด ซึ่งสหรัฐตั้งใจจะทำการจับกุม หรือเป็นไปได้มากกว่านั้นคือต้องการจะฆ่าประธานาธิบดีซัดดัม เขาก็จะมีแรงดลใจทุกๆ อย่างที่จะเอาชนะ, ระเบิด, หรือทำลาย, เพราะเขาไม่มีอะไรที่จะสูญเสียอีกแล้ว แต่มันยากมากที่จะจินตนาการไปถึงสถานการณ์เหล่านั้น

๏ ชาวอิรักทั้งหลายจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการโจมตีของสหรัฐที่มีต่ออิรัก อะไรคือสิ่งที่เป็นไปได้เกี่ยวกับผลที่ตามมาทางด้านมนุษยธรรมเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้

          ไม่มีใครรู้ ใครก็ตามสามารถที่จะจินตนาการถึงฉากอนาคตที่น่าปีติยินดีขึ้นมาได้ เช่น มีการทิ้งระเบิดเพียงไม่กี่ลูก และพวกทหาร Republican Guards ก่อการกบฏโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม, ฝูงชนต่างเชียร์ทหารสหรัฐที่เดินแถวขบวนเข้าไปในอิรัก พร้อมวงดุริยางค์บรรเลงเพลง God Bless America, ผู้คนทั้งหลายของพื้นที่นั้นต่างให้การต้อนรับทักทายผู้ที่มาช่วยกู้อิสรภาพ ซึ่งได้ทำให้อิรักเปลี่ยนไปสู่ภาพลักษณ์อันหนึ่งของประชาธิปไตยแบบอเมริกัน และกลายเป็นศูนย์กลางของความทันสมัยสำหรับดินแดนนั้นทั้งหมด - และอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีการผลิตน้ำมันเพียงพอที่จะรักษาราคาให้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่สหรัฐชื่นชอบ และสามารถทำลายอำนาจการควบคุมราคาของ OPEC ได้ พร้อมทั้งซานตาคลอสยิ้มระรื่นด้วยความเมตตามาจากล้อเลื่อนหิมะของเขา

          ใครๆ ก็สามารถจินตนาการได้อย่างง่ายดาย มากกว่าผลลัพธ์อันน่ากลัวที่จะเกิดขึ้น นั่นคือของคู่กันตามปกติ หรือสิ่งที่จะมาพร้อมกันกับการตัดสินใจในการใช้มาตรการรุนแรงใดๆ ก็ตาม และนั่นคือหนึ่งในเหตุผลอีกมากมายหลายหลากที่ว่า ทำไมบรรดาคนเหล่านั้นที่ให้การสนับสนุนวิถีทางดังกล่าว จึงมีภาระอันหนักอึ้งเกี่ยวกับการพิสูจน์ถึงเรื่องที่ต้องแบกรับในอนาคตที่จะตามมา

๏ ในทัศนะของคุณ เหตุผลแท้จริงของสงครามครั้งนี้คืออะไร

          มันมีเหตุผลต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังมายาวนานทีเดียว ซึ่งต่างก็ทราบกันดี อิรักเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองใหญ่เป็นอันดับที่ ๒ ของโลก มันเป็นไปได้เสมอที่ว่าไม่ช้าก็เร็ว สหรัฐจะพยายามปฏิสังขรณ์เรื่องราคาน้ำมันครั้งใหญ่ให้อยู่ในการควบคุมของตะวันตก หมายความว่าตอนนี้สหรัฐกำลังคุมอยู่ ซึ่งปฏิเสธโอกาสที่จะเข้ามาด้วยวิธีการพิเศษต่างๆ ของผู้อื่น ซึ่งข้อพิจารณาต่างๆ เหล่านั้นได้ยึดถือกันมาหลายปี

          เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ได้เปิดหนทางใหม่ๆ ที่จะน้อมนำไปสู่เป้าหมายต่างๆ เหล่านี้ภายใต้ข้ออ้างเกี่ยวกับการทำสงครามกับการก่อการร้าย ซึ่งเป็นข้ออ้างที่บอบบางหรือจืดชืดมาก แต่ก็มากพอสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อถึงวัตถุประสงค์ข้างต้นต่างๆ สงครามที่มีการวางแผนสามารถรับใช้ความต้องการต่างๆ ภายในประเทศได้ทันทีด้วย

          มันแทบจะไม่เป็นความลับเลยที่ว่า คณะผู้บริหารของบุชกำลังดำเนินการข่มขืนจนสำเร็จกับประชาชนของเราโดยทั่วไปและคนในรุ่นต่อไป ในเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวกับเซคเตอร์หรือส่วนที่แคบๆ ของเรื่องพลังอำนาจและความมั่งคั่ง ที่ผู้คนเหล่านั้นจะต้องมารับใช้ด้วยความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นการละเมิดกระทั่งต่อบรรทัดฐานตามปกติต่างๆ ของพวกเรา

          ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว แน่นอน มันเป็นการเสนอแนะความสนใจให้เบี่ยงเบนไปจากการดูแลด้านสุขภาพ ความปลอดภัยทางสังคม ความขาดแคลนต่างๆ การทำลายล้างสภาพแวดล้อม พัฒนาการเกี่ยวกับระบบอาวุธใหม่ๆ ที่อาจจะคุกคามการอยู่รอดที่แท้จริง และรายการหัวข้ออื่นๆ อีกยืดยาวอันไม่เป็นที่น่ายินดีหรือต้อนรับ

          ตามขนบจารีตและโดยหลักการในเชิงเหตุผลก็คือ ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดหวั่นขึ้น นั่นคือจุดประสงค์ทั้งหมดเกี่ยวกับการเมืองที่เป็นจริงในภาคปฏิบัติ ตามที่นักเหน็บแนมอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่อย่าง H. L. Mencken เคยกล่าวเอาไว้ว่า "เป้าประสงค์ทั้งปวงของการเมืองที่เป็นจริงก็คือ ธำรงความหวาดกลัวต่อสาธารณชนเอาไว้ (และผลที่ตามมาของความอลหม่าน จะนำไปสู่ความปลอดภัย) โดยการคุกคามผู้คนด้วยการหลอกล่อให้เกิดความหวาดหวั่นอย่างไม่รู้จบสิ้น ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นแค่จินตนาการ"

          ในข้อเท็จจริง สิ่งที่คุกคามอันนั้นที่ปลุกเร้าขึ้นมาเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ว่ามันจะถูกขยายหรือทำให้พองโตขึ้นเหนือไปจากเหตุผลทั้งปวง นั่นคือส่วนที่ดีอันหนึ่งของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองที่เป็นจริงในภาคปฏิบัติ ซึ่งแน่นอน ไม่เพียงปัจจุบันนี้เท่านั้น

          มันไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากมายนักที่จะปลุกเร้าภาพลักษณ์ของซัดดัม ฮุสเซ็น ขึ้นมา ในฐานะของปิศาจที่ทรงพลังอำนาจอย่างสุดๆ ที่จะสามารถทำลายโลกหรืออาจทำลายล้างจักรวาลลงได้ และด้วยการกอดรัดกันของประชาชนที่ตกอยู่ในความหวาดผวานี้ จึงเป็นโอกาสให้พลังความกล้าที่สง่างามดุจอัศวินของเราเอาชนะศัตรูตัวร้ายที่น่าเกรงขามอย่างอัศจรรย์ ซึ่งบางทีพวกเราในฐานะประชาชนทั้งหลายไม่ต้องไปสนอกสนใจสิ่งที่กำลังกระทำกับศัตรูตัวร้ายเหล่านั้นด้วย และอาจร่วมร้องประสานเสียงไปพร้อมกับบทเพลงสรรเสริญ ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาอันแจ่มจรัสต่อบรรดาผู้นำของพวกเรา

          ความเหนือกว่าในพลังอำนาจของสหรัฐเป็นสิ่งพิเศษอย่างยิ่ง ซึ่งมันค่อนข้างอุดมสมบูรณ์และได้รับการสั่งสมเอาไว้ เผื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่ดูเหมือนว่ากำลังดำเนินไปอย่างผิดพลาดจะได้รับการแก้ไข และถ้าเผื่อว่าพวกเราบังเอิญเกิดการตกหลุมตกร่อง ทั้งหมดนั้นจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะพวกเขาสามารถที่จะขุดหลุมดังกล่าวให้ลึกลงไปในโพรงแห่งความทรงจำของพวกเรา เพื่อตำหนิประณามใครบางคน หรือบางทีเพื่อเสริมทับในความศรัทธาที่ไร้เดียงสาของพวกเรา และทำให้เห็นว่าคนอื่นๆ ต่างก็เป็นคนที่เมตาปรานีเช่นเดียวกันกับเรา มันง่ายดายจริง นั่นคือขุมทรัพย์หรือมรดกอันล้ำค่าอันหนึ่งของประสบการณ์ของเราที่ถูกดึงออกมาใช้

๏ บางคนที่ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการทำสงคราม เสนอแนะว่า ถ้าการแซงค์ชั่นหรือการลงโทษทางเศรษฐกิจต่ออิรักมันน่ากลัวดังที่พวกฝ่ายซ้ายอ้าง หากเป็นเช่นนั้น การทำสงครามที่ต้องทำให้พลเมืองราวหนึ่งแสนคนต้องเสียชีวิต ก็น่าจะเป็นพรอันประเสริฐหรือประโยชน์ทางด้านมนุษยธรรม เพราะเป็นไปได้ที่ว่า หลังจากที่สหรัฐประสบชัยชนะ มันก็จะไม่มีการลงโทษทางเศรษฐกิจอีกต่อไป อยากจะทราบว่าคุณคิดอย่างไรต่อข้ออ้างเหตุผลเช่นนี้

          ผมเคยได้ยินข้อถกเถียงที่ฟังดูเปิ่นๆ เช่นเดียวกันนี้ในอดีต แต่อันนี้มันกลับไปทำลายบันทึกหรือหมายเหตุใหม่ๆ ต่างๆ ผมสงสัยว่ามันจะเป็นคำพูดตลกหรืออะไรที่ไม่จริงจังนักมากกว่า หมายเหตุแรกคือ แนวคิดของ "พวกฝ่ายซ้าย" บรรดาผู้ประสานงานทางด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (Denis Halliday, Hans van Sponeck) ผู้ซึ่งรู้เรื่องเกี่ยวกับประเทศนั้นเป็นอย่างดีกว่าใครๆ มากกว่ายูนิเซฟและองค์กรอื่นๆ มันคล้ายกันเล็กน้อยกับการกล่าวว่า พวกฝ่ายซ้ายมีความเอาใจใส่เกี่ยวกับความเร่าร้อนของโลก - และบอกกับพวกเราถึงบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับผู้คนเหล่านั้น ที่ตั้งคำถามต่อข้อเรียกร้องโดยวางมันลงบนขั้วทางการเมือง

          แต่อีกด้านหนึ่งนั้น ข้อถกเถียงข้างต้นมีความน่าดึงดูดใจ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถให้ความช่วยเหลืออิหร่านในการเอาชนะอิสราเอล และดำเนินการอย่างเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนประสบผลสำเร็จ เพื่อว่าการระเบิดพลีชีพจะได้ยุติลง

๏ อะไรที่จะมาเกี่ยวข้องกับสงครามในตะวันออกกลาง และส่วนอื่นๆ ของโลก ? คุณคิดว่าชนชั้นหัวกะทิของสหรัฐกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไหม

          แน่นอน บรรดาชนชั้นหัวกะทิสนใจแน่ แม้ว่าคนกลุ่มเล็กๆ ที่ถือบังเหียนทางอำนาจโดยทั่วไปอาจไม่สนใจมันมากนักก็ตาม ตามหลักฐานแล้ว พวกเขาเชื่อว่า พวกเขามีพลังอำนาจที่เหนือกว่าที่อยู่ในการควบคุม ซึ่งนั่นไม่ใช่สาระที่แท้จริงดังที่คนอื่นๆ คิด ถ้าหากพวกเขาไม่ก้าวไปข้างหน้า พวกเขาก็จะถูกไล่ออก หรือถ้าหากว่าพวกเขาอยู่ในร่องทาง ก็จะถูกบดขยี้

          ความคิดจากเบื้องสูงถูกทำให้เป็นที่ชัดเจนมาก เมื่อเจ้าชาย Abdullah แห่งซาอุดีอาระเบียได้มาเยี่ยมเยือนสหรัฐเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นให้คณะผู้บริหารให้ความสนใจต่อปฏิกิริยาในโลกอาหรับ สำหรับการสนับสนุนอันเข้มแข็งของโลกอาหรับที่จะให้มีการยับยั้งความโหดร้ายของอิสราเอล เขาได้บอกกับเราว่า ตามความเป็นจริง สหรัฐอเมริกานั้นไม่ได้ให้ความเอาใจใส่หรือเป็นกังวลในสิ่งที่เขาหรือชาวอาหรับอื่นๆ คิดเลย

          เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของเราอธิบายว่า ถ้าเขาคิดว่าพวกเราเข้มแข็งในสงครามพายุทะเลทราย ในทุกวันนี้เราเข้มแข็งกว่านั้นเป็นสิบเท่า อันนี้ได้ให้ไอเดียกับเขาบางอย่างถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน ซึ่งได้สาธิตให้เห็นถึงสมรรถนะต่างๆ ของเรา

          ผู้อาวุโสซึ่งมีต่ำแหน่งสูงอีกท่านหนึ่ง ได้เห็นพ้องกับนักวิเคราะห์ที่กล่าวถ้อยคำที่แพรวพราวที่ว่า คนอื่นๆ จะเคารพเรา เพราะความบึกบึนหรือความเป็นนักเลงโตของเรา และจะไม่สร้างความยุ่งยากให้ จุดยืนอันนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมากล่าวอีก แต่ในช่วงหลังจากเหตุการณ์โลกวันที่ 11 กันยายน มันได้มาถึงอำนาจชนิดใหม่ มันชอบธรรมแล้วหรือ? อาจจะเป็นเช่นนั้น หรือบางทีโลกจะระเบิดขึ้นมาต่อหน้าต่อตาพวกเขา และบางครั้งหลังจาก "ช่วงระหว่างเวลาที่เหมาะสม" ดังที่มันถูกใช้กันในภาษาทางการทูต

          มาตรการหรือการพึ่งพาอาศัยความรุนแรงในสเกลขนาดใหญ่ เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจคาดการณ์ได้สำหรับผลลัพธ์ที่จะตามมา ดังที่ประวัติศาสตร์ได้เผยหรือแสดงให้เราเห็น และสามัญสำนึกควรจะบอกอะไรกับเราได้ นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมคนที่มีสติสัมปชัญญะจึงหลีกเลี่ยงมันเสีย ในความสัมพันธ์ต่างๆ ส่วนบุคคลหรือระหว่างประเทศ เว้นแต่ในการถกเถียงที่เต็มไปด้วยพลังอำนาจอย่างแท้จริงซึ่งต้องลงท้ายด้วย "การขัดขวางต่างๆ ที่โรยแรงต่อการใช้กำลังทหาร" (หยิบยืมมาจากวลีของ Norman Podhoretz ปัญญาชนสมัยโรนัลด์ เรแกน)

๏ Christopher Hitchens ได้สรุปว่า ขณะที่ Saudi Arabia, Scowcroft, และ Kissinger คัดค้านการทำสงครามกับอิรัก เนื่องจากผลหรือศักยภาพของมันที่อาจก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพขึ้นในดินแดนแถบนั้น ฝ่ายซ้ายกลับไม่กังวลใจในเรื่องเกี่ยวกับเสถียรภาพของพวกปฏิกิริยาหรือพวกฝ่ายขวา ระบบการปกครองของตะวันออกกลางที่ทุจริต การโต้แย้งและการหักล้างอันนี้ มันเป็นข้อคัดค้านการทำสงครามที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ คุณมีความคิดเห็นอย่างไร

          มันเป็นการยากมากที่จะจินตนาการถึงประเด็นที่ถูกนำมาทึกทักหรืออนุมานกันขึ้นนี้ ฝ่ายซ้ายมักจะต่อต้านอย่างแข็งขัน สำหรับการที่สหรัฐให้การสนับสนุนเกี่ยวกับพวกปฏิกิริยาและระบอบการปกครองอันทุจริตของตะวันออกกลาง และแน่นอน ยินดีต้อนรับการทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพเพื่อหนุนเนื่องบางสิ่งบางอย่างที่ดีกว่า

          ในอีกด้านหนึ่งนั้น ถ้าหากว่าการทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพมันนำมาสู่อำนาจบางอย่าง จนกระทั่งถึงอำนาจที่เลวร้าย - กล่าวคือ, สิ่งที่ Hitchens เรียกว่า เผด็จการฟาสซิสม์อิสลามิค - หากถึงขนาดนั้น พวกฝ่ายซ้ายก็จะต่อต้านมัน และผมสันนิษฐานว่าเขาคงจะคัดค้านมันด้วยเช่นกัน

          ดังนั้น คำถามก็คือ อะไรคือประเด็นดังกล่าว ผมไม่เห็นว่าข้อพิจารณาต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านสงครามใดๆ อย่างที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ หรือไม่ก็ตาม, อย่างน้อยที่สุดจากพวกฝ่ายซ้าย ผมคิดว่าสิ่งที่ Scowcroft และ Kissinger มีอยู่ในใจนั้น อาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก .. .

หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม | ความเคลื่อนไหว |> ประเด็นร้อน | ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :